12 วิธีดูแลรักษาบ้านให้แข็งแรงทนทาน และน่าอยู่ ปลอดภัย

12 วิธีดูแลรักษาบ้านให้แข็งแรงทนทาน และน่าอยู่ ปลอดภัย

1.ตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคาบ้าน

เนื่องจากหากมีการรั่วซึมของหลังคาจะให้ให้เกิดคราบเลอะ เป็นรอยตะไคร่น้ำตามเพดานฝ้าทำให้ได้รับความเสียหาย ดูไม่น่ามอง และยังอาจทำให้ข้าวของภายในบ้านเปียกอีกด้วย ต้องรีบแก้ไข ปูกระเบื้องมุงหลังคาที่แต่แตก และเปลี่ยนฝ้าใหม่

2.พื้นกระเบื้องไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขัง

พื้นหากมีน้ำขังปล่อยไว้อาจจะมีตะไคร่มาจับ ทำให้ลื่นหกล้มได้ง่าย ดังนั้นควรขัด เช็ดน้ำให้แห้ง

3.ไม่ควรทิ้งขยะลงไปในท่อ เพราะจะทำให้อุดตันได้

ไม่ควรทิ้งขยะลงในท่อระบายน้ำ เพราะอาจทำให้ท่ออุดตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกด้วย ควรทิ้งในถุงขยะที่จัดเตรียมไว้

4.ดูแลสวน และต้นไม้ไม่ให้รก

ควรดูแลต้นไม้ ตัดหญ้า ตัดกิ่งที่ขึ้นมารกให้ดูเป็นระเบียบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์มีพิษพวก งู ตะขาบ และควรรดน้ำต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้งามให้ร่มเงาไม่แห้งเหี่ยวและตายไป

5.หมั่นเช็คสภาพระบบไฟฟ้าปลั๊ก สายไฟว่ามีรอยชำรุดเสียหายหรือไม่

ควรสังเกตตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ หลอดไฟ หากพบว่าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้านไม่ให้เกิดอันตรายจาก ไฟฟ้ารัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว หรืออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

 

6. หมั่นทำความสะอาดปัดกวาดเช็ดถูบ้านอยู่เสมอ

บ้านที่สะอาดย่อมทำให้บ้านน่าอยู่ เจริญหูเจริญตา มองแล้วอารมณ์ดี ป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคเพื่อสุขภาพที่ดีของเราอีกด้วย ทำความสะอาดรีโมท ที่จับประตู ทำความสะอาดฟองน้ำล้างจาน โทรศัพท์ เมาส์ คีย์บอร์ด ตู้เย็น อ่างล้างจาน พรมปูพื้น เปลี่ยนเครื่องนอน ซัก หรือนำไปแตกแดดเสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียหมั่นทำความสะอาดห้องน้ำอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะแหล่งสะสมของเชื้อโรคเช่น ทำความสะอาดฝักบัวอาบน้ำ โถสุขภัณฑ์ ม่านกันเปียก ดูแลแปรงสีฟัน อ่างล้างหน้า ลูกบิดที่จัดประตู ดูแลให้สะอาดเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคซึ่งส่งผลต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัยด้วย

7. เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่มีคุณภาพ

เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่มีคุณภาพ สภาพดีพร้อมใช้ อุปกรณ์ไม้ถูพื้น ไม้กวาด ผ้าเช็ดทำความสะอาด ถังขยะ ที่ตักผง ที่ปัดฝุ่น เครื่องดูดฝุ่น น้ำยาถูพื้นควรมียาฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย น้ำยาเช็ดกระจก นำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เมื่อเรามีอุปกรณ์ดีครบถ้วนจะทำให้เราอยากทำความสะอาด และทำความสะอาดดูแลบ้านได้อย่างดีมีคุณภาพอีกด้วย

8.หมั่นดูแลสี ความเสียหายของบ้านเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงอยู่เสมอ

หมั่นตรวจสอบตัวบ้าน เมื่อพบว่าสีผนังอาคารเกิดฝุ่นคล้ายแป้ง แสดงให้เห็นว่าสีเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพ รอยร้าว สีลอก ทำรัง ควรให้ช่างดูแลซ่อมแซมอุดรอย ทาสี ขัดเงา ทาเคลือบป้องกันปลวกให้เรียบร้อยเพื่อให้บ้านคงสภาพดีดังเดิม

9.บ้านที่มีถังบำบัดสำเร็จรูปใต้ดินควรสูบตะกอนทุก 2 ปี

ถังบำบัดสำเร็จรูปใต้ดินนั้นควรสูบตะกอนออกทุกๆ 2 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และรักษามาตรฐานการใช้งานถังบำบัดนั้น และควรเติม จุลินทรีย์ธรรมชาติ หรือ ผงจุลินทรีย์ผสมน้ำ ลงในถังทุกๆ เดือนเพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายเองด้วย

 

10.บ้านที่มีถังสำรองน้ำกักเก็บน้ำไว้ใช้ควรตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำ

ควรตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำว่ามีดินเปียกหรือผนังเปียกที่เกิดจากการรั่วซึ่มของน่ำ ทุกๆ 2 ปี รวมถึงการตรวจสอบตะไคร้น้ำข้างถังทุกๆ ปี หรือสังเกตปั้มน้ำทำงานตอนไม่ได้ใช้น่ำหรือไม่หากทำงานอาจเกิดจากมีน้ำรั่ว

11.ตรวจสอบพื้นคอนกรีต เช่นพื้นโรงรถ พื้นลานซักล้าง พื้นทางเท้า

พื้นคอนกรีตนั้นควรตรวจสอบทุกๆ ปี เพราะโดยธรรมชาตินั้น ดินจะเกิดการทรุดตัว ทำให้พื้นคอนกรีตทรุดเกิดรอยร้าวหรือแตกเป็นเศษเล็กๆ หรือเป็นหลุมทำให้เกิดความเสียหายควรทำการซ่อมแซม

12.มีระบบการป้องกันบ้านจากปลวก

ควรมีการตรวจสอบปลวกทุกๆ 4 เดือนหากพบปัญหาปลวกขึ้นบ้านให้รีบแจ้งบริษัทที่รับกำจัดปลวกฉีดยาป้องกันปลวกและให้รับประกันปลวกขึ้นบ้านด้วย พอหมดประกันก็ให้มาตรวจดีอีกครั้งเพื่อต่อประกันปลวกขึ้นบ้าน เพราะปลวกขึ้นบ้านทำให้บ้านได้รับความเสียหายโดยเฉพาะเสาบ้าน คานซึ่งเป็นที่เสริมความแข็งแรงของบ้านต้องหมั่นดูแลให้ดีอยู่เสมอ

ที่มา: http://www.poolprop.com/Article.aspx/12-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2?ArticleId=89

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *